คู่มือใช้งาน

“กระทะในฝัน” ที่คงข้อดีของกระทะเหล็กไว้ ขึ้นสนิมยาก และไม่ต้องการการดูแลรักษาที่ยุ่งยาก

ผลิตในญี่ปุ่น

“ข้อควรระวัง”

กรุณาอ่านคู่มือใช้งานให้ละเอียดก่อนใช้ เพื่อให้ใช้งานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

“กระทะเหล็กในฝัน”

ซีรีส์คิวาเมะคือซีรีส์สุดยอดกระทะซึ่งเหล็กผ่านการอบชุบแบบพิเศษ
การอบชุบแบบพิเศษจะสร้าง “ชั้นโลหะไนไตรด์ + ชั้นโลหะออกไซด์” ที่พื้นผิวของแผ่นเหล็ก ทำให้กระทะขึ้นสนิมยากและทนทานเป็นอย่างมาก

“จุดเด่นของกระทะซีรีส์คิวาเมะ”

“สิ่งที่ต้องทำเพื่อให้ใช้งานกระทะคิวาเมะได้อย่างถูกต้อง”

เตรียมการก่อนใช้งานครั้งแรก... “เคลือบน้ำมัน”

กระทะคิวาเมะขึ้นสนิมได้ยากและดีเยี่ยมสมตามชื่อของกระทะนี้ จึงไม่ได้เคลือบผิวที่กระทะเพื่อป้องกันสนิม เริ่มแรกควรล้างอย่างระมัดระวังทั้งด้านในและด้านนอกของกระทะโดยใช้น้ำยาล้างที่มีค่าเป็นกลางแล้วล้างออกให้สะอาด คุณสามารถใช้งานได้ทันทีหลังจาก "เคลือบน้ำมัน (ทำให้กระทะดูดซับน้ำมัน)" แล้ว ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้อง "เผากระทะ" ก่อนทำการ "เคลือบน้ำมัน"

ก่อนเริ่มใช้งาน อันดับแรก ให้ทำการเคลือบน้ำมันซึ่งสำคัญที่สุด

  1. ใส่น้ำมันจนถึงประมาณ 1/3 ของความลึกกระทะ ตั้งบนไฟอ่อน 5 นาที
  2. ปิดไฟ เทน้ำมันกลับลงไปในภาชนะ เช่น กาใส่น้ำมัน
  3. ใช้กระดาษอเนกประสงค์เช็ดน้ำมันที่เหลืออยู่ด้านในกระทะให้ซึมเข้าไปทั่วผิวกระทะ

เตรียมการก่อนใช้งานทุกครั้ง... “เคลือบน้ำมันซ้ำ”

สิ่งที่เชฟมืออาชีพหรือผู้ที่ใช้งานกระทะเหล็กได้คล่องแคล่วต้องทำกันก่อนทำอาหารคือ “เคลือบน้ำมันซ้ำ” หากทำการ “เคลือบน้ำมันซ้ำ” อาหารจะไม่ไหม้ติดกระทะและออกมาหน้าตาสวยงามกว่าเดิม

  1. นำกระทะไปวางบนเตา อุ่นด้วยไฟกลางให้ร้อน
  2. เทน้ำมันลงไปพอสมควร (ประมาณหนึ่งทัพพี) เพื่อเคลือบน้ำมันบนผิวกระทะ
  3. หากน้ำมันร้อนและเคลือบทั่วกระทะดีแล้ว ให้เทน้ำมันกลับลงไปในกาใส่น้ำมัน นี่คือการ “เคลือบน้ำมันซ้ำ” หลังจากนี้ ให้ใส่น้ำมันปริมาณที่จำเป็นต่อการทำอาหารลงไปแล้วเริ่มทำอาหารได้

*เป้าหมายคือทำอุณหภูมิด้านในกระทะให้ร้อนทั่วถึงและเคลือบน้ำมันลงบนผิวกระทะ นี่จึงเป็นขั้นตอนสำคัญหากต้องการใช้งานกระทะให้ถูกต้อง

เมื่อใช้งานเสร็จแล้ว

กระทะไม่ใช่ภาชนะสำหรับเก็บอาหาร อาหารที่ทำเสร็จแล้วกรุณาย้ายไปใส่ภาชนะอื่นทันที หากใส่อาหารค้างไว้ในกระทะ เกลือหรือกรดที่อยู่ในอาหารจะกัดผิวเหล็กทำให้เกิดรูได้

  1. ใช้แปรงทาวาชิหรือซาซาระล้างด้วยน้ำร้อนขณะกระทะยังร้อน (กรุณาอย่าใช้เครื่องล้างจาน)

    *ก่อนล้าง ให้ใช้กระดาษอเนกประสงค์เช็ดน้ำมันและคราบสกปรกออกเท่าที่เช็ดได้

  2. หลังจากนั้นให้สะบัดน้ำออก เช็ดหยดน้ำให้แห้งแล้วจึงเก็บเข้าที่

หากล้างกระทะเหล็กด้วยน้ำยาล้างจาน “ชั้นน้ำมันที่เคลือบอยู่” อาจจะหลุดออกไปพร้อมคราบน้ำมันสกปรกได้ง่าย ดังนั้นกรุณาทำตามขั้นตอนข้างบน

“การดูแลรักษาหลังทำอาหารประเภทต้ม, นึ่ง, ลวก”

หากทำอาหารประเภทเหล่านี้ น้ำร้อนจะทำให้ชั้นน้ำมันที่เคลือบผิวกระทะอยู่จะหลุดออกไปเป็นบางส่วน ดังนั้นหลังทำอาหารเสร็จต้องล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้ง แล้วทาน้ำมันบางๆ

การดูแลรักษากระทะ

หากอาหารไหม้ติดกระทะ...

เทน้ำร้อนแล้วตั้งไฟต้มสักครู่ คราบไหม้จะนิ่มลงขัดออกง่ายขึ้น หลังจากนั้นให้ใช้แปรงทาวาชิหรือซาซาระขัดคราบไหม้ออก

ถ้ามีคราบสกปรกติดแน่น...

*ขั้นตอนในกรณีนี้ ต้องทำกับเตาแก๊สเท่านั้น

  1. เปิดไฟเตาแก๊สให้สุด นำกระทะส่วนที่มีคราบสกปรกไปจ่อไฟโดยตรง เผาคราบสกปรกจนกว่าจะไม่มีควันออกมา
  2. เมื่อกระทะเย็นแล้วให้ใช้ฝอยขัดหม้อหรือไม้พายโลหะขัดคราบสกปรกทั้งด้านในและด้านนอกออก
  3. ใช้แปรงไนลอนแข็งหรือฝอยขัดหม้อกับคลีนเซอร์ขัดจนทั่วกระทะ ล้างออกด้วยน้ำ เช็ดน้ำออกให้สะอาด หลังจากนั้นให้ “เผากระทะ” ด้วยไฟกลางเป็นเวลา 5 นาที เมื่อกระทะเย็นแล้วให้ “เคลือบน้ำมัน” ตามขั้นตอน 123 ก็เป็นอันเสร็จสิ้น

“ย่าง” “ผัด” “ทอด” ให้อร่อย

จุดสำคัญในการทำอาหารคืออะไร?

คำตอบคือทำอาหารด้วย “อุณหภูมิ” ที่ถูกต้อง

แม้เราจะซื้อวัตถุดิบดีๆ และจัดเตรียมวัตถุดิบไว้พร้อม แต่หากเรากะ “อุณหภูมิในการทำอาหาร” ผิดในขั้นสุดท้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากอุณหภูมิสูงเกินไป การลงทุนลงแรงที่ผ่านมาทั้งหมดก็จะสูญเปล่าและไม่สามารถเริ่มใหม่ได้ เหตุผลว่าทำไม “อุณหภูมิในการทำอาหาร” จึงสำคัญมี 3 ข้อ

  1. น้ำตาล คือน้ำตาลที่อยู่ในวัตถุดิบหรือน้ำตาลที่ใส่เพิ่มเข้าไปเป็นเครื่องปรุง ทั้งสองอย่างเหมือนกัน เมื่อน้ำตาลโดนความร้อนประมาณ 170 – 180 องศาจะส่งกลิ่นหอมมาก เราเรียกว่าน้ำตาลกลายเป็นคาราเมล
  2. น้ำมัน เมื่อน้ำมันโดนความร้อนที่อุณหภูมิพอๆ กับน้ำตาล จะส่งกลิ่นหอมแห้งเฉพาะตัวของน้ำมันออกมา เราเรียกกลิ่นนี้ว่า “ดีปฟรายเฟลเวอร์”
  3. โปรตีนกับน้ำตาล หรือกรดอะมิโนกับน้ำตาล เมื่อสองอย่างนี้อยู่ด้วยกันแล้วโดนความร้อน จะเกิดปฏิกิริยาเคมีขึ้น กลายเป็นกลิ่นหอมยั่วน้ำลายลอยฟุ้งทั่วบ้าน สารชื่อเมลานอยดินคือต้นกำเนิดของ “กลิ่นหอม” นี้
photo

ทั้งสามอย่างนี้เกิดขึ้นในขอบเขตอุณหภูมิแทบจะเหมือนกัน จะเกิดครบทั้งสามอย่างหรือไม่ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบและเครื่องปรุงที่ใช้ แต่ไม่ว่าจะครบหรือไม่ ทั้งสามอย่างนี้ก็คือจุดสำคัญของ “อาหารย่าง” “อาหารผัด” “อาหารทอด” ที่อร่อย
เวลาทำอาหารย่างหรืออาหารทอด เรามักจะบรรยายสีอาหารว่า “สีเหลืองอร่าม” หากมีทั้งสามอย่างด้านบนครบถ้วน อาหารของเราก็จะกลายเป็น “สีเหลืองอร่าม” ได้

อุณหภูมิที่ทำให้อาหารอร่อยคือ 170 – 180 องศา กรุณาใช้อุณหภูมินี้ให้เป็นอุณหภูมิประจำตัว ตามรายการโทรทัศน์มักจะบอกว่า “ให้ตั้งกระทะบนไฟจนกว่าน้ำมันจะกลายเป็นควันลอยขึ้นมาจากกระทะ” แต่จริงๆ แล้วการที่มีควันลอยขึ้นมาจากน้ำมัน แปลว่าอุณหภูมิสูงเกินไป
การที่น้ำมันกลายเป็นควัน แปลว่าน้ำมันกำลังเสียสภาพไปเรื่อยๆ ซึ่งไม่อร่อยและไม่ดีต่อสุขภาพ ดังนั้นกรุณารักษาอุณหภูมิอย่าให้สูงเกินขอบเขต

ข้อควรระวังเมื่อใช้เตาแม่เหล็กไฟฟ้า

เตาแก๊สจะมีเปลวไฟซึ่งปล่อยความร้อนออกมาล้อมกระทะไว้และทำให้ร้อน ส่วนเตาแม่เหล็กไฟฟ้าจะปล่อยความร้อนออกมาจากรูปโดนัท เพื่อให้โดนส่วนก้นกระทะซึ่งสัมผัสกับเตา รูปโดนัทที่ปล่อยความร้อนจะมีอุณหภูมิแตกต่างจากส่วนอื่นมาก ความร้อนนั้นจึงทำให้ก้นกระทะมีรูปร่างบิดเบี้ยวได้ (บวมออกด้านนอก)

ข้อห้าม

กรุณาอย่านำกระทะไปวางบนเตาแม่เหล็กไฟฟ้าแล้วเปิด “ไฟแรง” ทันที และห้าม “เผากระทะ” เด็ดขาด

วิธีใช้ที่ถูกต้อง

ปรับเป็น “ไฟอ่อน” ตั้งกระทะให้ร้อนสักพักแล้วจึงค่อยๆ ปรับให้แรงขึ้นเป็น “ไฟกลาง” เมื่ออุณหภูมิได้ที่แล้วจึงเริ่มทำอาหารได้ หากใช้วิธีนี้ จะสามารถป้องกันก้นกระทะไม่ให้เบี้ยวได้มากกว่าวิธีอื่นๆ

กรณีก้นกระทะเบี้ยวขึ้นมา

หากก้นกระทะมีรอยบุ๋ม น้ำมันจะไปกองอยู่ในรอยง่ายขึ้น และเมื่อวางบนเตาแม่เหล็กไฟฟ้า กระทะอาจจะโยกไปมา วางได้ไม่มั่นคง แต่สามารถทำอาหารได้เหมือนเดิมแทบทุกอย่าง สามารถใช้งานต่อได้เลย

*ไม่สามารถทำให้ก้นกระทะกลับมาแบนราบได้

กรณีมือจับหลวม

เมื่อใช้มือจับไม้ไปเรื่อยๆ น็อตอาจจะหลวมทำให้มือจับโยกเยกได้ กรณีนี้ให้ใช้ไขควงหรือแท่งที่แข็งแรงเสียบเข้าไปในรูน็อต จากนั้นหมุนให้แน่นตามเข็มนาฬิกา มือจับก็จะหายโยกเยก

สามารถเปลี่ยนมือจับได้

หากมือจับไหม้ แตก หรือขันน็อตแล้วแต่ยังไม่หายโยกเยก สามารถเปลี่ยนมือจบหรือน็อตใหม่ได้ (มีค่าใช้จ่าย)
โปรดสอบถามเกี่ยวกับอะไหล่ที่ใช้เปลี่ยนกับทางร้านค้าที่จัดจำหน่าย

ข้อควรระวัง

เมื่อใช้มานานหลายปี น็อตอาจจะขึ้นสนิมทำให้ขันไม่ออก หากต้องการเปลี่ยนมือจับหรือซ่อม กรุณาติดต่อไปทางร้านค้าที่จัดจำหน่าย

บางครั้งอาหารที่ทำอาจมีสีคล้ำ

เมื่อใช้อุปกรณ์ทำอาหารที่ทำจากเหล็ก ทำ “โกโบผัด” หรือ “ผัดรากบัว” อาหารอาจออกมาคล้ำกว่าเวลาใช้กระทะอลูมีเนียมทำ
นั่นเพราะวัตถุดิบที่เป็นด่าง เช่น โกโบ, รากบัว, อุโดะ, มะเขือม่วง ฯลฯ จะดูดซับธาตุเหล็กเอาไว้ แต่ไม่มีผลกับรสชาติ และไม่ส่งผลใดๆ กับร่างกาย ดังนั้นโปรดสบายใจได้ ทั้งนี้ หากทิ้งอาหารไว้ในกระทะนาน ธาตุเหล็กจะซึมเข้าไปในวัตถุดิบมากเกินไปและทำให้เหม็นกลิ่นเหล็กได้

ดังนั้น เมื่อทำอาหารเสร็จแล้วกรุณาย้ายไปใส่ภาชนะอื่นขณะยังร้อน

ขณะใช้งาน กระทะอาจเปลี่ยนสีได้

หากใช้งานกระทะด้วยวิธีที่ต่างไปจากปกติ เช่น ทำซอสมะเขือเทศ ทำแยมผลไม้ ต้มวัตถุดิบที่มีรสเปรี้ยวผสมอยู่มากเป็นเวลานาน ผิวกระทะอาจเปลี่ยนเป็นสีขาวๆ ได้
แต่อาหารที่ทำเสร็จจะมีธาตุเหล็กผสมอยู่มาก และไม่มีอันตรายใดๆ ต่อร่างกาย ดังนั้นโปรดสบายใจได้
ในกรณีนี้จะไม่เกิดผลกระทบใดๆ กับ “โลหะไนไตรด์” ที่อบชุบมา หากนำกระทะไปตั้งบนไฟแรงอีกครั้งเป็นเวลาหลายนาที ชั้นโลหะออกไซด์สีเหลือบจะถูกสร้างขึ้นมาใหม่บนผิวกระทะ ซึ่งเป็นสีที่ต่างจากสีออกดำในตอนแรก แต่มีประสิทธิภาพในการ “เคลือบน้ำมัน” เหมือนเดิม
แม้สีกระทะจะเปลี่ยนก็สามารถใช้ต่อได้
เมื่อใช้น้ำมันทำอาหาร ด้านในกระทะจะค่อยๆ กลับสภาพไปเป็นเหมือนเดิม

ข้อมูลผลิตภัณฑ์

วัสดุกระทะ
แผ่นเหล็กรีดเย็น
ความหนาก้น
  • ความหนา 1.6 mm (ทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้นผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้)
  • ความหนา 1.2 mm : กระทะเอเชีย
  • ความหนา 2.0 mm : กระทะทอดไข่ขนาดใหญ่, กระทะ 28 cm, กระทะเครป 26 cm
  • ความหนา 2.3 mm : กระทะสเต็ก
  • ความหนา 3.0 mm : หม้อเทมปุระ S (20 cm), M (24 cm)
  • ความหนา 3.2 mm : หม้อสุกี้ยากี้, กระทะหนา 24 cm, 26 cm, 28 cm
วัสดุมือจับ
  • ไม้ (เคลือบยูรีเทน) ยกเว้นผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้
  • “หม้อเทมปุระ, หม้อสุกี้ยากี้, กระทะจีนสองหู” รวมถึงกระทะจีนหูเดียว, มือจับกระทะสเต็กสำรอง : เหล็ก

Made in JAPAN


เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
https://www.riverlight.co.jp/

ขอบพระคุณที่อุดหนุน
กรุณาเก็บรักษาคู่มือใช้งานไว้อย่างดีเพื่อให้ใช้งานผลิตภัณฑ์ได้ยาวนาน
หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ กรุณาติดต่อไปยังร้านค้าที่ท่านซื้อผลิตภัณฑ์


RiverLight Corporation
261 Kawarago, Shiroi-shi, Chiba 270-1403